|
เชื้อราเจ้าปัญหา !!!!!! เชื่อราเจ้าปัญหา
!!
เชื่อราในกลุ่มสูดัลเลสซีเรีย (Pseudellescheria) ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักจุลชีววิทยาเชื้อราที่ชื่อ Negroni และ Fischer ในปี 1943 จำแนกชนิดตามหลักอนุกรมวิธานได้ดังนี้
Kingdom : FungiPhylum : AscomycotaClass : EuascomycetesOrder : MicroascalesFamily : MicroascaceaeGenus : PseudallescheriaSpecies : Pseudallescheria boydii
เชื้อรราชนิดนี้มีเพียงสายพันธุ์เดียว คือ Pseudallescheria boydii (อ่านว่า สู ดัล เลส ชี เรีย บอย ดี ไอ) เชื้อราสูดัลเลสชีเรีย (Pseudallescheria) จัดเป็นราสาย filamentous fungus ที่พบได้ทั่วโลก เคยมีรายงานการศึกษาเพาะเชื้อราชนิดนี้ขึ้นจากดิน ปฏิกูลเน่าเสีย รวมทั้งพบในแหล่งน้ำสกปรก และในฟาร์มเลี้ยงสัตว์บางแห่ง ในทางการแพทย์จัดว่าเป็นเชื้อราที่ฉกฉวยโอกาส opportunistic pathogen ที่สำคัญสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้หลายรูปแบลักษณะการก่อโรคของเชบื้อนี้พบได้บ่อย ถือว่าเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อ Pseudallescheria boydii พบได้น้อยมา เรียกเป็นภาษาทางการแพทย์ว่า Pseudallescheriasis ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยอยู่ในภาวะบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด, ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ ภูมิคุ้มกันบกพร่องนอกจากนี้ยังพบว่าก่อให้เกิดการติดเชื้อราชนิดเป็นก้อนที่เรียกว่า mycetoma ซึ่งจะมีลักษระเป็นกลุ่มก้อนเชื้อราสีขาวเรียกว่า white grain mycetoma ไม่ก่อให้เกิดโรครุนอรงและรักษาได้ไม่ยาก
การติดเชื้อเกือบทั้งหมดเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อที่อยู่ในดินหรือในน้ำภายหลังเกิดอุบัติเหตุนอกจากนี้ยังพบว่ามีการติดเชื้อกระจายในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ จากรายงานทางการแพทย์ทั่วโลกพบจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อราชนิดนี้ในอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้
1. การติดเชื้อที่ผิวหนัง 3 ราย 2. โพรงไซนัสอักเสบหรือหนอในโพรงไซนัส 9 ราย 3. เยื่อบุตาอักเสบ 3 ราย 4. ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ 1 ราย 5. ติดเชื้อภายในลูกตา 4 ราย 6. เยื้อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ 6 ราย 7. ฝีในสมอง (brain abscess) 6 ราย 8. ลิ้นหัวใจอักเสบ endocarditis 2 ราย 9. ปอดอักเสบและฝีในปอด 5 ราย
นอกจากนี้ ยั่งมีรายการผู้ป่วยที่เชื้อกระจายไปทัวกระแสเลือดเรียกว่า disseminated infections ทั่วโลก 3 ราย เสียชีวิตทั้งหมด การติดเชื้อในสมองพบในผู้ป่วยจมน้ำ 2 ราย ลักษณะทางกล้องจุลทรรศ์ เชื้อราชนิดนี้เติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มองเห็นลักษณะเหมือนนุ่นหรือฝ้าย ระยะแรกเห็นเป็นสีขาว ต่อมาจะกลายเป็นสีเทาหรือดำ พบรูปแบบ sexual stage ที่ย้อมติดสีชัดเจน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ถึง 250 ไมครอน สปอร์เห็นเป็น septate hyaline hypahae ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 4 ไมครอน เมื่อนำมาตรววจโดยการย้อมเนื้อเยื่อที่ที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ จะพบลักษณะของ septate hyphae ในชิ้นเนื้อทางจุลชีววิทยา Pseudallescheria boydii ในการตรวจเชื้อราชนิดนี้ต้องแยกจากเชื้อราที่มีลักษณะใกล้เคียงกันสองชนิด คือ Scedospoium apiospermum และ Graphium eumorphum ยาต้านเชื้อราที่ใช้รักษาได้ผลมี 8 ชนิด ได้แก่ micronazole , itraconazole , voriconazole , posaconazole , ravuconazole , UR 9825 , caspofungin และ sordarins แต่ยาที่ได้ผลดีที่สุดจากการรายงานการศึกษาวิจัยทั้งหมดที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้คือ voriconazole ที่มีชื่อทางการค้าว่า Vfend เวชภัณฑ์ลิขสิทธิ์ของบริษัทไฟเซอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
แหล่งที่มาข้อมูล http://www.geocities.com/tinnee_dan/virus.html
|
|